เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 3. อนันตราปยุตตกถา (128)
[659] ปร. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงได้จิตที่เป็นกุศลใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงได้จิตที่เป็นกุศลเป็นเหตุออกจากจิตที่เป็นอกุศลนั้น
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พึงได้จิตที่เป็นกุศลที่เป็นรูปาวจร ฯลฯ อรูปารจร ฯลฯ โลกุตตระใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
กุสลปฏิลาภกถา จบ

3. อนันตราปยุตตกถา (128)
ว่าด้วยบุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม
[660] ปร.1 บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม2 ได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พึงก้าวลงสู่มิจฉัตตนิยาม3 และสัมมัตตนิยามทั้ง 2 ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กรรมที่ใช้ให้ทำนั้นก่อความรำคาญใจให้ ให้เกิดความเดือดร้อนใจมิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ ซึ่งมีความเห็นว่า ผู้ที่ใช้ให้คนอื่นทำอนันตริยกรรม เช่น ฆ่า
มารดา ฆ่าบิดา เป็นต้น ถึงจะไม่ใช่ผู้ทำอนันตริยกรรมโดยตรง แต่ก็ต้องถือว่ารับผลของอนันตริยกรรม
แน่นอน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ถ้าผู้ถูกใช้ให้ทำ ไม่ทำตรงตามที่สั่งให้ทำ ผู้สั่งไม่ต้อง
รับโทษของอนันตริยกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. 660-662/267-268)
2 สัมมัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (อภิ.ปญฺจ.อ. 663-664/269)
3 มิจฉัตตนิยาม ในที่นี้หมายถึงอนันตริยกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. 663-664/269)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :713 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 3. อนันตราปยุตตกถา (128)
ปร. หากกรรมที่ใช้ให้ทำนั้นก่อความรำคาญใจให้ ให้เกิดความเดือดร้อนใจได้
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมพึงก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามได้”
[661] สก. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตต-
นิยามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาได้ปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิตพระอรหันต์ มีจิตคิด
ประทุษร้ายทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้แตกกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรม ล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความ
รำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ฯลฯ ทำลายสงฆ์ให้แตกกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมล้มเลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ
กำจัดความเดือดร้อนใจได้แล้ว เป็นผู้ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาล้มเลิกกรรมนั้น บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจ
แล้วมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเขาล้มเลิมกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความ
เดือดร้อนใจได้แล้ว ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ใช้ให้ทำอนันตริยกรรมล้ม
เลิกกรรมนั้นแล้ว บรรเทาความรำคาญใจ กำจัดความเดือดร้อนใจได้แล้ว เป็นผู้
ไม่ควรก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :714 }