เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 1. กัปปัฏฐกถา (126)
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะเป็นผู้มีฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะเป็นผู้มีฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะเจริญอิทธิบาท คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[657] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้กัปปัฏฐะยังดำรงอยู่ได้ตลอดกัป”
ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“บุคคลผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ยินดีในการแตกกัน
อยู่ในอธรรม เป็นผู้เข้าถึงอบาย อยู่ในนรกตลอดกัป
พลาดจากนิพพานอันเป็นธรรมเกษมจากโยคะ1
เสวยผลกรรมอยู่ในนรกตลอดกัป
เพราะทำลายสงฆ์ที่สามัคคีกันให้แตกแยกกัน”2
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้กัปปัฏฐะจึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป

กัปปัฏฐกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ธรรมเกษมจากโยคะ หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ทสก.อ. 3/39-40/345)
2 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/39/90-91

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :711 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 2. กุสลปฏิลาภกถา (127)
2. กุสลปฏิลาภกถา (127)
ว่าด้วยการได้จิตที่เป็นกุศล
[658] สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงได้จิตที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้ทานใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงให้ทาน ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้
กัปปัฏฐะไม่พึงได้จิตที่เป็นกุศล”
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงได้จิตที่เป็นกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงถวายจีวร ฯลฯ บิณฑบาต ฯลฯ เสนาสนะ ฯลฯ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฯลฯ ของขบเคี้ยว ฯลฯ ของบริโภค ฯลฯ น้ำดื่ม ฯลฯ
พึงไหว้พระเจดีย์ ฯลฯ ยกดอกไม้ ฯลฯ ของหอม ฯลฯ เครื่องลูบไล้บูชาพระเจดีย์
ฯลฯ ทำประทักษิณพระเจดีย์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงทำประทักษิณพระเจดีย์ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “บุคคลผู้กัปปัฏฐะไม่พึงได้จิตที่เป็นกุศล ฯลฯ”

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 658-659/267)
2 เพราะมีความเห็นว่า ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันนอกจากจะไม่มีโอกาสบรรลุฌาน มรรคและผลแล้ว แม้แต่
กุศลขั้นหยาบ เช่น ทาน ศีล ก็ทำไม่ขึ้น ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
ไม่สามารถบรรลุฌาน มรรคและผลในชาตินี้เท่านั้น แต่สามารถสร้างกุศลอย่างอื่น เช่น ให้ทาน รักษาศีลได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. 658-659/267)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :712 }