เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 1. กัปปัฏฐกถา (126)
13. เตรสมวรรค
1. กัปปัฏฐกถา (126)
ว่าด้วยผู้ดำรงอยู่ได้ตลอดกัป
[654] สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ1 พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. กัปดำรงอยู่และพระพุทธเจ้าก็อุบัติในโลกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กัปดำรงอยู่และพระสงฆ์แตกกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กัปดำรงอยู่และบุคคลผู้กัปปัฏฐะก็ทำกรรมอันเป็นเหตุให้ตั้งอยู่ตลอดกัป
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ผู้กัปปัฏฐะ หมายถึงผู้ทำกรรมหนักไม่ว่าฝ่ายกุศล หรือฝ่ายอกุศล เมื่อตายแล้วจะเกิดอยู่ในภพภูมิหนึ่ง
ตลอดกัป (อภิ.ปญฺจ.อ. 654-657/266)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 654-657/266)
3 เพราะมีความเห็นว่า ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกันจะต้องรับกรรมในนรกตลอดกัป ที่เรียกว่ามหากัป อย่างแน่นอน
(อภิ.ปญฺจ.อ. 654-657/266)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :709 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [13. เตรสมวรรค] 1. กัปปัฏฐกถา (126)
สก. กัปดำรงอยู่และบุคคลผู้กัปปัฏฐะทำกาละใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[655] สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พึงดำรงอยู่ตลอดกัปที่เป็นอดีต ตลอดกัปที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พึงดำรงอยู่ตลอด 2-3-4 กัปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[656] สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะพึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้กัปปัฏฐะ เมื่อกัปถูกไฟไหม้ไปที่ไหน
ปร. ไปโลกธาตุอื่น
สก. ตายไปหรือเหาะไป
ปร. ตายไป
สก. กรรมที่เป็นเหตุให้ตั้งอยู่ตลอดกัปเป็นกรรมให้ผลในภพต่อ ๆ ไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เหาะไปได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :710 }