เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [12. ทวาทสมวรรค] 8. ชีวิตาโวโรปนกถา (123)
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ อาจจงใจปลงชีวิตมารดา ฯลฯ ปลงชีวิตบิดา
ปลงชีวิตพระอรหันต์ มีจิตคิดประทุษร้ายทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ฯลฯ
ทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระธรรม ฯลฯ ใน
พระสงฆ์ ฯลฯ ในสิกขาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้” บุคคลผู้ถึงพร้อม
ด้วยทิฏฐิเป็นผู้มีความเคารพในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ในสิกขามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้”
[649] สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ไม่มีความเคารพในพระศาสดา
ใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :704 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [12. ทวาทสมวรรค] 9. ทุคคติกถา (124)
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะรด ถ่มน้ำลาย
ลงที่พระพุทธสถูป ทำพระพุทธสถูปไว้ทางเบื้องซ้าย1ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจปลงชีวิตสัตว์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราย่อมไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เหมือน
น้ำในมหาสมุทรมีปกติคงที่ ไม่ล้นฝั่ง”2 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิอาจจงใจ
ปลงชีวิตสัตว์ได้”
ชีวิตาโวโรปนกถา จบ

9. ทุคคติกถา (124)
ว่าด้วยทุคติ
[650] สก. บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละทุคติ3ได้ใช่ไหม
ปร.4 ใช่

เชิงอรรถ :
1 ทำพระพุทธสถูปไว้ทางเบื้องซ้าย ในที่นี้หมายถึงการเดินเวียนซ้ายรอบพระเจดีย์ เป็นอุตราวัฏ(ทวนเข็ม
นาฬิกา) ไม่เดินเวียนขวา ที่เรียกว่ากระทำประทักษิณ (อภิ.ปญฺจ.อ. 649/265)
2 ดูเทียบ วิ.จู. (แปล) 7/385/282-285, องฺ.อฏฺฐก. (แปล) 23/20/252-256, ขุ.อุ. (แปล)
25/45/260-268
3 ทุคติ โดยทั่วไปมีความหมาย 2 อย่าง คือ (1) เป็นชื่อภพภูมิชั้นต่ำ เช่น สัตว์ดิรัจฉาน (2) เป็นชื่อตัณหา
คือ ความยินดี รักใคร่ในรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ของสัตว์ในทุคติ แต่ฝ่ายปรวาทีถือเอาความหมายที่ 1
เท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ. 650-652/265)
4 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 650-652/265)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :705 }