เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น”
คำนั้นของท่านผิด
ปัจจนีกปัญจกะ จบ

ปฏิกัมมจตุกกะ
[7] สก. ท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ท่านหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดย
สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
สก. ท่านจงรับปฏิกรรม ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาว-
ธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น”
คำนั้นของท่านผิด

ปฏิกัมมจตุกกะ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :7 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
นิคคหจตุกกะ
[8] สก. อนึ่ง หากท่านระลึกได้ว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้
บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็น
ปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ดังนั้น ท่านเมื่อ
ยอมรับด้วยปฏิญญานี้ในปัจจนีกปัญจกะ1นั้น ก็ควรถูกลงนิคคหะอย่างนี้ ฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงลงนิคคหะท่าน ท่านจึงเป็นอันข้าพเจ้าลงนิคคหะชอบแล้ว ดังต่อไปนี้
หากท่านหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐ-
ปรมัตถ์นั้น” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้ายอมรับว่า ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะ
เป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” คำนั้นของท่านผิด
อนึ่ง หากท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ
ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น” ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ข้าพเจ้า
หยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” ท่านกล่าวคำขัดแย้งใดในตอนต้นนั้นว่า “ข้าพเจ้า
ยอมรับว่า ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แต่ไม่ยอมรับว่า สภาวธรรม
ใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์นั้น”
คำนั้นของท่านผิด
นิคคหจตุกกะ จบ

อุปนยนจตุกกะ
[9] สก. หากนิคคหะนี้เป็นการนิคคหะโดยมิชอบ ในนิคคหะที่ท่านลงแก่
ข้าพเจ้านั้น ท่านก็จงเห็นว่าเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน
ข้าพเจ้ายอมรับว่า “ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลไม่ได้โดยสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์” แต่ไม่
ยอมรับว่า “สภาวธรรมใดเป็นสัจฉิกัฏฐะเป็นปรมัตถะ ข้าพเจ้าหยั่งรู้บุคคลนั้นไม่ได้

เชิงอรรถ :
1 ปัจจนีกปัญจกะ (ข้อ 6)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :8 }