เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [12. ทวาทสมวรรค] 4. สฬายตนกถา (119)
สก. กายายตนะไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ
ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากกายายตนะไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กายายตนะเป็นวิบาก” ฯลฯ
สก. ผัสสะเป็นวิบาก มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายายตนะเป็นวิบาก มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายายตนะเป็นวิบาก แต่ไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะเป็นวิบาก แต่ไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[640] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อายตนะ 6 เป็นวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อายตนะ 6 ชื่อว่าเกิดขึ้นเพราะได้มีการทำกรรมไว้มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอายตนะ 6 ชื่อว่าเกิดขึ้นเพราะได้มีการทำกรรมไว้ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “อายตนะ 6 เป็นวิบาก”

สฬายตนกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :698 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [12. ทวาทสมวรรค] 5. สัตตักขัตตุปรมกถา (120)
5. สัตตักขัตตุปรมกถา (120)
ว่าด้วยบุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ
[641] สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ1 เป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก 7 ครั้ง
เป็นอย่างยิ่งใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ ปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิต
พระอรหันต์ มีจิตคิดประทุษร้ายทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้
แตกกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้แน่นอนที่จะเกิดอีก 7 ครั้งเป็นอย่างยิ่ง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะนั้น เป็นผู้ไม่ควรที่จะได้บรรลุธรรมในระหว่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะเป็นผู้ไม่ควรที่จะได้บรรลุธรรมในระหว่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เขาปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิตพระอรหันต์ มีจิตคิด
ประทุษร้ายทำร้ายพระตถาคตจนพระโลหิตห้อ ทำลายสงฆ์ให้แตกกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 บุคคลผู้สัตตักขัตตุปรมะ หมายถึงพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 ประการได้แล้ว
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกอีก
7 ชาติแล้วจึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.31/53-54), ดูเทียบ อภิ.ปุ. (แปล) 36/31/154
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 641/264)
3 เพราะมีความเห็นว่า พระโสดาบันประเภทสัตตักขัตตุปรมะต้องเกิดถึง 7 ชาติ จึงจะสามารถบรรลุ
อรหัตตผลได้(ตีความตามพยัญชนะ) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระโสดาบันประเภทสัตตัก-
ขัตตุปรมะไม่มีกฎตายตัวว่าจะต้องเกิดถึง 7 ชาติ บางท่านอาจไม่ถึง 7 ชาติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแก่กล้า
แห่งอินทรีย์ของแต่ละบุคคล (อภิ.ปญฺจ.อ. 641/264)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :699 }