เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [12. ทวาทสมวรรค] 2. กัมมกถา (117)
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาไม่มีวิบาก ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“เจตนาทั้งปวงมีวิบาก”
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก ที่เป็นกามาวจร ที่เป็นรูปาวจร ที่
เป็นอรูปาวจร ที่เป็นโลกุตตระ ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายวิบาก ที่เป็นโลกุตตระ ไม่มีวิบาก
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจตนาทั้งปวงมีวิบาก”
สก. เจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยาที่เป็นกามาวจร ที่เป็นรูปาวจร ที่เป็น
อรูปาวจร ไม่มีวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเจตนาที่เป็นอัพยากฤตฝ่ายกิริยา ที่เป็นอรูปาวจร ไม่มีวิบาก
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เจตนาทั้งปวงมีวิบาก”
[635] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กรรมทั้งปวงมีวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวกรรม
ที่สัตว์มีเจตนาทำไว้ สั่งสมไว้ว่า สิ้นสุด เพราะยังไม่เสวยผล ก็ผลนั้นแลสัตว์ต้อง
เสวยในอัตภาพนี้ ในอัตภาพถัดไปหรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น กรรมทั้งปวงจึงมีวิบาก

กัมมกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) 24/217/357

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :694 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [12. ทวาทสมวรรค] 3. สัทโทวิปาโกติกถา (118)
3. สัทโทวิปาโกติกถา (118)
ว่าด้วยเสียงเป็นวิบาก
[636] สก. เสียงเป็นวิบากใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. เสียงมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับ
รู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ
มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เสียงไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากเสียงไม่มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ฯลฯ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เสียงเป็นวิบาก”
สก. ผัสสะเป็นวิบาก มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เสียงเป็นวิบาก มีสุขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ
มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 636/263)
2 เพราะมีความเห็นว่า เสียงเกิดจากกรรม จึงจัดเป็นวิบาก ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า เสียง
เป็นเพียงรูปธรรม เกิดจากจิตและอุตุ (ธรรมชาติ) ไม่เรียกว่าวิบาก ส่วนธรรมที่จะเรียกว่าวิบากได้ ต้อง
เป็นนามธรรมล้วน (อภิ.ปญฺจ.อ. 636/263)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :695 }