เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 9. ธัมมัฏฐิตตากถา (114)
สก. ความตั้งอยู่แห่งรูปเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งรูปนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งรูปนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งรูปทั้ง 2 ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตั้งอยู่แห่งเวทนา ฯลฯ ความตั้งอยู่แห่งสัญญา ฯลฯ ความตั้งอยู่
แห่งสังขาร ฯลฯ ความตั้งอยู่แห่งวิญญาณ เป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งวิญญาณนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งวิญญาณนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็
ไม่มีแก่ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งวิญญาณทั้ง 2 ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ธัมมัฏฐิตตากถา จบ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :685 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 10. อนิจจตากถา (115)
10. อนิจจตากถา (115)
ว่าด้วยความไม่เที่ยง
[628] สก. ความไม่เที่ยงเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพานก็
ไม่มี แก่ความไม่เที่ยงแห่งความไม่เที่ยงทั้ง 2 ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความแก่เป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความแก่แห่งความแก่นั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความแก่แห่งความแก่นั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่ความแก่แห่งความแก่ทั้ง 2 ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 628/260)
2 เพราะมีความเห็นว่า ความไม่เที่ยงเป็นสภาวธรรมที่สำเร็จมาจากเหตุปัจจัย ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า ความไม่เที่ยงเป็นสภาวธรรมที่ไม่สำเร็จมาจากเหตุปัจจัย (อภิ.ปญฺจ.อ. 628/260)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :686 }