เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 8. สมาธิกถา (113)
สก. อดีตดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิดมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอดีตดับไปแล้ว อนาคตก็ยังไม่เกิด ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิ”
[626] ปร. สมาธิเป็นไปชั่วขณะจิตเดียวใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณเป็นผู้เข้าสมาบัติใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโสตวิญญาณ ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยฆานวิญญาณ
ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ
พรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นอกุศล ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ
พรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยโทสะ ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยโมหะ
ฯลฯ พรั่งพร้อมด้วยจิตที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ เป็นผู้เข้าสมาบัติใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอกุศลเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่สหรคตด้วยราคะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยโทสะ ฯลฯ
ที่สหรคตด้วยโมหะ ฯลฯ ที่สหรคตด้วยอโนตตัปปะ เป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิ” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :683 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 9. ธัมมัฏฐิตตากถา (114)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “นิครนถ์ เราไม่เคลื่อนไหวกาย
ไม่พูด ฯลฯ สามารถเสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอด 7 คืน 7 วัน”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น ความสืบต่อแห่งจิตจึงเป็นสมาธิ
สมาธิกถา จบ

9. ธัมมัฏฐิตตากถา (114)
ว่าด้วยความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรม
[627] สก. ความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรม2เป็นสภาวะสำเร็จแล้ว3 ใช่ไหม
ปร.4 ใช่5
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมนั้นเป็นสภาวะสำเร็จแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี ความตัดขาดวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มี แก่ความตั้งอยู่แห่งความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมทั้ง 2 ชั้นดังกล่าวมานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/180/185
2 ความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรม ในที่นี้หมายถึงปฏิจจสมุปบาท (อภิ.ปญฺจ.อ. 627/260)
3 สภาวะที่สำเร็จ (ปรินิปฺผนฺน) หมายถึงสำเร็จมาจากเหตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. 627/260)
4 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 627/260)
5 เพราะมีความเห็นว่า ความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมสำเร็จมาจากเหตุเพราะมีสภาวธรรมอื่นเป็นเหตุ ซึ่งต่างกับ
ความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ความตั้งอยู่แห่งสภาวธรรมมิใช่สำเร็จมาจากเหตุอื่น (อภิ.ปญฺจ.อ.
627/260)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :684 }