เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 7. อิทธิพลกถา (112)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ อิทธิบาท 4 อันผู้ใด
ผู้หนึ่งได้เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม
ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ตลอด 1 กัป หรือเกินกว่า 1 กัป”1 มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์จึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป
[624] สก. ผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่
ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันธรรม
4 ประการ
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า ไม่แก่
2. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความเจ็บเป็นธรรมดาว่า ไม่เจ็บ
3. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า
ไม่ตาย
4. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันผลแห่งกรรมชั่วที่เศร้าหมอง ให้
เกิดในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และ
มรณะต่อไปว่า ไม่บังเกิด

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.ม. (แปล) 10/167/112, สํ.ม. (แปล) 19/822/385-390, ขุ.อุ. (แปล) 25/51/278-284

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :681 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 8. สมาธิกถา (113)
ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันธรรม 4 ประการนี้แล”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์พึงดำรง
อยู่ได้ตลอดกัป”
อิทธิพลกถา จบ

8. สมาธิกถา (113)
ว่าด้วยสมาธิ
[625] สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอดีตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความสืบต่อแห่งจิตที่เป็นอนาคตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ความสืบต่อแห่งจิตเป็นสมาธิใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/182/258-259
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายสัพพัตถิกวาทและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 625/259)
3 เพราะมีความเห็นว่า เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดขึ้นนาน ๆ หลายขณะจิตจึงจะเป็นสมาธิ ซึ่งต่างกับความเห็น
ของสกวาทีที่เห็นว่า เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดขึ้น แม้ในขณะจิตดวงเดียว ก็เป็นสมาธิ (อภิ.ปญฺจ.อ. 625/259)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :682 }