เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 7. อิทธิพลกถา (112)
สัทธาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ วิริยะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ สติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ สมาธิ
ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ปัญญาที่เกิดขึ้นแล้วอย่าดับไปเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “รูปจงเป็นของเที่ยง” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “เวทนาจงเป็นของเที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ
สังขาร ฯลฯ วิญญาณ จงเป็นของเที่ยง” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่าได้
เกิดเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลใช้ฤทธิ์บังคับว่า “สัตว์ทั้งหลายผู้มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าได้
แก่เลย ฯลฯ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา อย่าได้เจ็บเลย ฯลฯ สัตว์
ทั้งหลายผู้มีความตายเป็นธรรมดา อย่าได้ตายเลย” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[623] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรง
อยู่ได้ตลอดกัป” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :680 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 7. อิทธิพลกถา (112)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ อิทธิบาท 4 อันผู้ใด
ผู้หนึ่งได้เจริญ ทำให้มาก ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่น สั่งสม
ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อมุ่งหวัง พึงดำรงอยู่ตลอด 1 กัป หรือเกินกว่า 1 กัป”1 มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์จึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป
[624] สก. ผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่
ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันธรรม
4 ประการ
ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า ไม่แก่
2. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความเจ็บเป็นธรรมดาว่า ไม่เจ็บ
3. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า
ไม่ตาย
4. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือใคร ๆ ในโลกที่จะประกันผลแห่งกรรมชั่วที่เศร้าหมอง ให้
เกิดในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และ
มรณะต่อไปว่า ไม่บังเกิด

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.ม. (แปล) 10/167/112, สํ.ม. (แปล) 19/822/385-390, ขุ.อุ. (แปล) 25/51/278-284

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :681 }