เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 6. อิทังทุกขันติกถา (111)
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณไม่เที่ยง” แต่ญาณว่า “วิญญาณไม่เที่ยง” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “รูปเป็นอนัตตา” แต่ญาณว่า “รูปเป็นอนัตตา”
ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “เวทนาเป็นอนัตตา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ
วิญญาณเป็นอนัตตา” แต่ญาณว่า “วิญญาณเป็นอนัตตา” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” แต่ญาณว่า “นี้ทุกข์” ไม่ดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[620] สก. เมื่อเปล่งวาจาว่า “นี้ทุกข์” ญาณว่า “นี้ทุกข์” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ญาณว่า “อิ” ว่า “ทํ” ว่า “ทุ” และว่า “ขํ” จึงดำเนินไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

อิทังทุกขันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :677 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 7. อิทธิพลกถา (112)
อิทธิพลกถา (112)
ว่าด้วยกำลังฤทธิ์
[621] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัป1
ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. อายุนั้นสำเร็จได้ด้วยฤทธิ์ คตินั้นสำเร็จได้ด้วยฤทธิ์ การได้อัตภาพนั้น
ก็สำเร็จได้ด้วยฤทธิ์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปที่เป็นอดีต ตลอดกัปที่เป็นอนาคตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยกำลังฤทธิ์ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พึงดำรงอยู่ได้ตลอด 2-3-4 กัปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 กัป ในที่นี้หมายถึงกัป 3 อย่าง คือ (1) มหากัปปะ (กัปใหญ่) ช่วงระยะเวลายาวนานจนไม่มีใครนับได้ว่ากี่ปี
บางทีเรียกว่า อสงไขยกัป (2) กัปเปกเทสะ (ส่วนแห่งกัป) ระยะเวลาที่ยังกำหนดนับได้ ใช้นับอายุของ
พรหม เช่น พวกเทวดาชั้นพรหมมีอายุประมาณ 1 กัป (3) อายุกัปปะ (อายุกัป) ช่วงระยะเวลาที่นับเป็นปี
ได้ ใช้นับอายุของสัตว์นรก เทวดา และมนุษย์ (อภิ.ปญฺจ.อ. 621-624/258 ดูเทียบ องฺ.จตุกฺก. (แปล)
21/123/187-188/156/216-217)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 621/258)
3 เพราะมีความเห็นว่า ผู้มีฤทธิ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดมหากัป ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
ผู้มีฤทธิ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตลอดกัป (อภิ.ปญฺจ.อ. 621/258)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :678 }