เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 1-3. ติสโสปิอนุสยกถา (106-108)
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิต ส่วนอวิชชานับ
เนื่องในสังขารขันธ์และสัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่งวิปปยุต
จากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[613] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัย วิปปยุตจากจิต” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีอนุสัย” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :669 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 4. ญาณกถา (109)
ปร. อนุสัย สัมปยุตด้วยจิตนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงวิปปยุตจากจิต
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีราคะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ราคะ สัมปยุตด้วยจิตนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
ปร. ดังนั้น ราคะจึงวิปปยุตจากจิต
ติสโสปิอนุสยกถา จบ

4. ญาณกถา (109)
ว่าด้วยญาณ
[614] สก. พระอริยบุคคลเมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่วิปปยุตจาก
ญาณเป็นไปอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีญาณ” ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. พระอริยบุคคลเมื่อราคะปราศไปแล้ว ท่านไม่ยอมรับว่า “ปราศจาก
ราคะ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอริยบุคคลเมื่อความไม่รู้ปราศไปแล้ว เมื่อจิตที่วิปปยุตจากญาณ
เป็นไปอยู่ ท่านไม่ยอมรับว่า “มีญาณ” ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 616/257)
2 เพราะมีความเห็นว่า เมื่อโมหะสิ้นไป ด้วยอำนาจมรรคญาณในขณะที่เห็นรูปเป็นต้น จิต(ของพระอริยบุคคล)
เป็นจิตที่วิปปยุตจากญาณ ไม่ใช่เป็นจิตที่ประกอบด้วยมรรคญาณ จึงไม่ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้มีญาณ ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ควรเรียกว่า เป็นผู้มีญาณ ตามหลักปุคคลบัญญัติ (อภิ.ปญฺจ.อ.
614/256)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :670 }