เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 1-3. ติสโสปิอนุสยกถา (106-108)
สก. กามราคานุสัยเป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กามฉันทนิวรณ์
เป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ เป็นสเหตุกะ
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัยเป็นสเหตุกะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ปฏิฆานุสัย ฯลฯ มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย ภวราคานุสัย
ฯลฯ อวิชชานุสัย เป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน อวิชชาสังโยชน์
อวิชชานิวรณ์ เป็นอเหตุกะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิชชา อวิชโชฆะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นสเหตุกะใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อวิชชานุสัยเป็นสเหตุกะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[608] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อนุสัยเป็นอเหตุกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีอนุสัย” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :665 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [11. เอกาทสมวรรค] 1-3. ติสโสปิอนุสยกถา (106-108)
ปร. อนุสัยเป็นสเหตุกะโดยเหตุนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น อนุสัยจึงเป็นอเหตุกะ
ปร. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่ ท่านยอมรับว่า
“มีราคะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ราคะเป็นสเหตุกะโดยเหตุนั้นใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ราคะจึงเป็นอเหตุกะ
[609] สก. อนุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อนุสัยเป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคานุสัย วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสังโยชน์ กาโมฆะ กามโยคะ
กามฉันทนิวรณ์ วิปปยุตจากจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ สัมปยุตด้วยจิต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กามราคานุสัย สัมปยุตด้วยจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :666 }