เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 11. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (105)
สก. ศีลเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการฆ่าสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิญญัติเป็นเจตนาเครื่องเว้นจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัยอัน
เป็นเหตุแห่งความประมาทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[602] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญัติเป็นศีล” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. วิญญัติเป็นความทุศีลใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น วิญญัติจึงเป็นศีล
วิญญัตติสีลันติกถา จบ

11. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (105)
ว่าด้วยอวิญญัติเป็นความทุศีล
[603] สก. อวิญญัติเป็นความทุศีลใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. อวิญญัติเป็นปาณาติบาตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิญญัติเป็นอทินนาทานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 603-604/255)
2 เพราะมีความเห็นว่า การทำบาปโดยไม่ได้ตั้งใจและการทำบาปตามคำสั่ง เช่น การทำปาณาติบาตที่ครบองค์
จัดเป็นอวิญญัติ อวิญญัติเช่นนี้ เป็นความทุศีล (อภิ.ปญฺจ.อ. 603-604/255)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :656 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 11. อวิญญัตติทุสสีลยันติกถา (105)
สก. อวิญญัติเป็นกาเมสุมิจฉาจารใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิญญัติเป็นมุสาวาทใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อวิญญัติเป็นสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อบุคคลยึดถือบาปกรรม(ตั้งใจทำกรรมชั่ว)แล้วให้ทานอยู่ บุญและบาป
ทั้ง 2 อย่าง เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น1 ฯลฯ
สก. บุญและบาปทั้ง 2 อย่างเจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่2
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ จิต 2 ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ จิต 2 ดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต
ที่เป็นฝ่ายดำ เป็นฝ่ายขาว และเป็นฝ่ายมีส่วนเปรียบ มาประชุมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 เพราะปรวาทีเข้าใจว่า ในขณะให้ทาน บาปจะไม่เกิด (อภิ.ปญฺจ.อ. 603-604/255)
2 เพราะปรวาทีหมายเอาบาปที่ทำโดยไม่เจตนา (อภิ.ปญฺจ.อ. 603-604/255)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :657 }