เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 7. สีลังอเจตสิกันติกถา (101)
7. สีลังอเจตสิกันติกถา (101)
ว่าด้วยศีลไม่เป็นเจตสิก
[590] สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ศีลเป็นรูป ฯลฯ เป็นนิพพาน ฯลฯ เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น
กายายตนะ ฯลฯ เป็นรูปายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผัสสะเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 590/253)
2 เพราะมีความเห็นว่า ศีลไม่เกิดดับตามกระแสจิต ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ศีลเป็น
วิรติเจตสิกมีการเกิดดับตามกระแสจิต (อภิ.ปญฺจ.อ. 590/253)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :644 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 7. สีลังอเจตสิกันติกถา (101)
สก. ศีลเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญาเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[591] สก. ศีลไม่เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลมีผลที่ไม่น่าปรารถนาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ศีลมีผลที่น่าปรารถนามิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากศีลมีผลที่น่าปรารถนา ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ศีลไม่เป็นเจตสิก”
สก. สัทธามีผลที่น่าปรารถนา สัทธาเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ศีลมีผลที่น่าปรารถนา ศีลเป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิริยะ ฯลฯ สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญามีผลที่น่าปรารถนา ปัญญา
เป็นเจตสิกใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :645 }