เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 4. ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา (98)
สก. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภจิต ฯลฯ ปรารภจักษุ ฯลฯ
ปรารภกาย ฯลฯ ปรารภเสียง ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี มโนวิญญาณปรารภความว่าง
เกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณปรารภความ
ว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี มโนวิญญาณปรารภอดีตและ
อนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณปรารภอดีตและ
อนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มโนวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี มโนวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ
ปรารภจิต ฯลฯ ปรารภจักษุ ฯลฯ ปรารภกาย ฯลฯ ปรารภเสียง ฯลฯ
ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ
ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[583] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วิญญาณ 5 เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี”
ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :636 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 5. สาโภคาติกถา (99)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ฟังเสียงทางหู ฯลฯ
ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้วเป็นผู้รวบถือ ฯลฯ ไม่เป็นผู้รวบถือ”1 มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น วิญญาณ 5 จึงเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี
ปัญจวิญญาณากุสลาปิอกุสลาปีติกถา จบ

5. สาโภคาติกถา (99)
ว่าด้วยวิญญาณ 5 มีความผูกใจ
[584] สก. วิญญาณ 5 มีความผูกใจใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. วิญญาณ 5 มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณ 5 มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วิญญาณ 5 มีความผูกใจ”
สก. วิญญาณ 5 มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นก่อนเป็น
อารมณ์ มีธรรมภายในตนเป็นวัตถุ มีธรรมภายนอกตนเป็นอารมณ์ มีธรรมไม่
แตกดับเป็นวัตถุ มีธรรมไม่แตกดับเป็นอารมณ์ มีวัตถุต่างกัน มีอารมณ์ต่างกัน
ไม่เสวยอารมณ์ของกันและกัน ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่ใส่ใจ ไม่เกิดขึ้นเพราะไม่มนสิการ
เกิดขึ้นโดยไม่สับลำดับกัน ไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่เกิดขึ้นในลำดับของกันและกัน
มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1,2 ข้อ 579 หน้า 633 ในเล่มนี้
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 584/252)
3เพราะมีความเห็นว่า วิญญาณ 5 มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น สามารถพิจารณาแยกแยะสิ่งดี สิ่งไม่ดีได้
(อภิ.ปญฺจ.อ. 584/252)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :637 }