เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 3. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (97)
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรค จักขุวิญญาณ
ปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณมีการเจริญมรรค มโนวิญญาณ
ปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภเวทนา ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรค จักขุวิญญาณ
ปรารภผัสสะ ปรารภเวทนา ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[579] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ 5 มีการ
เจริญมรรค” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้ไม่รวบถือ1 ไม่แยกถือ2 ฯลฯ ฟังเสียงทางหูแล้ว ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้วเป็นผู้
ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ”3 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ 5 จึงมีการเจริญมรรคได้

ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา จบ

เชิงอรรถ :
1 รวบถือ (นิมิตฺตคฺคาหี) หมายถึงมองภาพรวมโดยเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย เห็นว่ารูปสวย เสียง
ไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจฉันทราคะ (อภิ.สงฺ.อ.
1352/456-7)
2 แยกถือ (อนุพฺยญฺชนคฺคาหี) หมายถึงมองแยกแยะเป็นส่วน ๆ ไปด้วยอำนาจกิเลส เช่น เห็นมือเท้าว่า
สวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้มหัวเราะ การพูด การเหลียวซ้ายแลขวาว่าน่ารัก ถ้าเห็นว่าสวยน่ารัก
ก็เกิดอิฏฐารมณ์ ถ้าเห็นว่าไม่สวยก็เกิดอนิฏฐารมณ์ (อภิ.สงฺ.อ. 1352/456-7)
3 ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/349/328, องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/14/25

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :633 }