เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 3. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (97)
สก. หากพระสูตรว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและความว่าง จักขุวิญญาณ
จึงเกิดขึ้น”
[578] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ มีการเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรคใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุวิญญาณปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภเวทนา ฯลฯ ปรารภสัญญา
ฯลฯ ปรารภเจตนา ฯลฯ ปรารภจิต ฯลฯ ปรารภจักษุ ฯลฯ ปรารภกาย ฯลฯ
ปรารภเสียง ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ มีการเจริญมรรค มโนวิญญาณ
ปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณ มีการเจริญมรรค จักขุวิญญาณ
ปรารภความว่างเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณ มีการเจริญมรรค มโนวิญญาณ
ปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :632 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 3. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (97)
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรค จักขุวิญญาณ
ปรารภอดีตและอนาคตเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยมโนวิญญาณมีการเจริญมรรค มโนวิญญาณ
ปรารภผัสสะ ฯลฯ ปรารภเวทนา ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจักขุวิญญาณมีการเจริญมรรค จักขุวิญญาณ
ปรารภผัสสะ ปรารภเวทนา ฯลฯ ปรารภโผฏฐัพพะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[579] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ 5 มีการ
เจริญมรรค” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย
นี้เห็นรูปทางตาแล้วเป็นผู้ไม่รวบถือ1 ไม่แยกถือ2 ฯลฯ ฟังเสียงทางหูแล้ว ฯลฯ
ดมกลิ่นทางจมูก ฯลฯ ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายแล้วเป็นผู้
ไม่รวบถือ ไม่แยกถือ”3 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ 5 จึงมีการเจริญมรรคได้

ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา จบ

เชิงอรรถ :
1 รวบถือ (นิมิตฺตคฺคาหี) หมายถึงมองภาพรวมโดยเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชาย เห็นว่ารูปสวย เสียง
ไพเราะ กลิ่นหอม รสอร่อย สัมผัสที่อ่อนนุ่ม เป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยอำนาจฉันทราคะ (อภิ.สงฺ.อ.
1352/456-7)
2 แยกถือ (อนุพฺยญฺชนคฺคาหี) หมายถึงมองแยกแยะเป็นส่วน ๆ ไปด้วยอำนาจกิเลส เช่น เห็นมือเท้าว่า
สวยหรือไม่สวย เห็นอาการยิ้มแย้มหัวเราะ การพูด การเหลียวซ้ายแลขวาว่าน่ารัก ถ้าเห็นว่าสวยน่ารัก
ก็เกิดอิฏฐารมณ์ ถ้าเห็นว่าไม่สวยก็เกิดอนิฏฐารมณ์ (อภิ.สงฺ.อ. 1352/456-7)
3 ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/349/328, องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/14/25

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :633 }