เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
สก. ในปัญจโวการภพมีบุคคลเพียง 5 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[112] สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง
บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ แม้ต้นไม้ก็ไม่เที่ยง แม้เงาไม้ก็ไม่เที่ยง
ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล แม้รูปก็ไม่เที่ยง แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง
ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยต้นไม้จึงบัญญัติเงาไม้ ต้นไม้กับเงาไม้เป็นคนละอย่างกัน ฉันใด
เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[113] สก. เพราะอาศัยบ้านจึงบัญญัติชาวบ้าน ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง
บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยบ้านจึงบัญญัติชาวบ้าน บ้านกับชาวบ้านเป็นคนละอย่างกัน
ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้น
เหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[114] สก. เพราะอาศัยรัฐจึงบัญญัติพระราชา ฉันใด เพราะอาศัยรูปจึง
บัญญัติบุคคล ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :63 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยรัฐจึงบัญญัติพระราชา รัฐกับพระราชาเป็นคนละอย่างกัน ฉันใด
เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคล รูปกับบุคคลเป็นคนละอย่างกัน ฉันนั้นเหมือนกัน
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[115] สก. ตรวนมิใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกจำตรวน
ฉันใด รูปมิใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้มีรูป ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ตรวนมิใช่ผู้ถูกจำตรวน ตรวนมีแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกจำตรวน ตรวน
กับผู้ถูกจำตรวนเป็นคนละอย่างกัน ฉันใด รูปมิใช่ผู้มีรูป รูปมีแก่ผู้ใด ผู้นั้น
ชื่อว่าผู้มีรูป รูปกับผู้มีรูปเป็นคนละอย่าง ฉันนั้นเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[116] สก. มีการบัญญัติบุคคลในจิตแต่ละดวงใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลย่อมเกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิ ในจิตแต่ละดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นคนเดียวกันหรือเป็น
คนละคนกัน” ใช่ไหม
ปร. ใช่1
สก. เมื่อจิตดวงที่ 2 เกิดขึ้น ท่านไม่ยอมรับว่า “เป็นเด็กชายหรือเป็น
เด็กหญิง” ใช่ไหม
ปร. ข้าพเจ้ายอมรับ2

เชิงอรรถ :
1 เพราะมีความเห็นว่า บุคคลในจิตดวงที่ 1 กับบุคคลในจิตดวงที่ 2 จะกล่าวว่าเป็นคนเดียวกันหรือเป็นคน
ละคนกันก็ไม่ได้ เพราะถ้ายอมรับว่าเป็นคนเดียวกัน ก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าเป็นสัสสตทิฏฐิ และถ้ายอม
รับว่าเป็นคนละคนกันก็เกรงจะถูกกล่าวหาว่าเป็นอุจเฉททิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. 116/155)
2 เพราะมีความเห็นว่า จะเป็นการขัดกับภาษาที่ชาวโลกใช้พูดกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :64 }