เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 2. รูปังมัคโคติกถา (96)
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้น
เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิเป็นมรรค และสัมมาทิฏฐินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมาวาจาเป็นมรรค และสัมมาวาจานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิ
เป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค และสัมมาอาชีวะนั้นเป็น
สภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ
ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นมรรค และสัมมาสมาธินั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :629 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 3. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (97)
[575] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรค
เป็นมรรค” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เป็นมรรคมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นมรรค ดังนั้น ท่าน
จึงควรยอมรับว่า “รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรคเป็นมรรค”
รูปังมัคโคติกถา จบ

3. ปัญจวิญญาณสมังคิสสมัคคภาวนากถา (97)
ว่าด้วยการเจริญมรรคของผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ 5
[576] สก. บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ 5 มีการเจริญมรรคใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. วิญญาณ 5 มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็น
อารมณ์3 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณ 5 มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นวัตถุ มีธรรมที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ 5 มีการเจริญมรรคได้”

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 576/250)
2 เพราะมีความเห็นว่า บุคคลสามารถเจริญมรรคได้ในเวลาเห็นรูป ได้ยินเสียง เป็นต้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
576/250)
3 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/762/496-497

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :630 }