เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 1. นิโรธกถา (95)
10. ทสมวรรค
1. นิโรธกถา (95)
ว่าด้วยนิโรธ
[571] สก. เมื่อขันธ์ 5 ที่แสวงหาปฏิสนธิยังไม่ดับ ขันธ์ 5 ที่เป็นกิริยา
ก็อุบัติใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ 10 ขันธ์ 10 มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ 10 ขันธ์ 10 มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ จิต 2 ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อขันธ์ 5 ที่แสวงหาปฏิสนธิยังไม่ดับ ขันธ์ 4 ที่เป็นกิริยาก็อุบัติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ 9 ขันธ์ 9 มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ 9 ขันธ์ 9 มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ จิต 2 ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 571/248)
2 เพราะมีความเห็นว่า เมื่อขันธ์ 5 ที่แสวงหาปฏิสนธิยังไม่ดับ กิริยาขันธ์ 5 (ขันธ์ที่แสดงความเคลื่อนไหว)ใน
ภพใหม่ก็เกิดขึ้นได้ เช่น ขณะที่จิตดวงก่อนยังไม่ดับ จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นมา (อภิ.ปญฺจ.อ. 571/248)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :625 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [10. ทสมวรรค] 2. รูปังมัคโคติกถา (96)
สก. เมื่อขันธ์ 5 ที่แสวงหาปฏิสนธิยังไม่ดับ ญาณที่เป็นกิริยาก็อุบัติใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ 6 ขันธ์ 6 มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. มีการประชุมแห่งขันธ์ 6 ขันธ์ 6 มารวมกันได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. มีการประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง ฯลฯ จิต 2 ดวงใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[572] ปร. เมื่อขันธ์ 5 ที่แสวงหาปฏิสนธิดับ มรรคก็อุบัติใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลตายแล้ว เจริญมรรคได้ บุคคลทำกาละแล้วเจริญมรรคได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
นิโรธกถา จบ

2. รูปังมัคโคติกถา (96)
ว่าด้วยรูปเป็นมรรค
[573] สก. รูปของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยมรรค เป็นมรรคใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ความผูกใจ ความ
สนใจ ความใฝ่ใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะ นิกายสมิติยะ และนิกายมหาสังฆิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 573/249)
2 เพราะมีความเห็นว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ทั้ง 3 องค์นี้ เป็นรูป ไม่ใช่นาม และเนื่อง
จากมรรคทั้ง 3 องค์นี้ นับเนื่องเข้าในมรรคมีองค์ 8 จึงถือว่ารูปก็ชื่อว่ามรรคได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. 573/249)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :626 }