เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 10. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา (93)
สก. กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกายกรรมมีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายกรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิตมิใช่
หรือ
ปร. ใช่
สก. หากกายกรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิต
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่ประสงค์จะก้าวไปก็ก้าวไปได้ ไม่ประสงค์จะถอยกลับก็ถอยกลับได้
ไม่ประสงค์จะแลดูก็แลดูได้ ไม่ประสงค์จะเหลียวดูก็เหลียวดูได้ ไม่ประสงค์จะคู้เข้าก็คู้เข้า
ได้ ไม่ประสงค์จะเหยียดออกก็เหยียดออกได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :619 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 10. นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา (93)
สก. บุคคลประสงค์จะก้าวไปจึงก้าวไปได้ ประสงค์จะถอยกลับจึงถอยกลับได้
ประสงค์จะแลดูจึงแลดูได้ ประสงค์จะเหลียวดูจึงเหลียวดูได้ ประสงค์จะคู้เข้าจึงคู้เข้า
ได้ ประสงค์จะเหยียดออกจึงเหยียดออกได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลประสงค์จะก้าวไปจึงก้าวไปได้ ฯลฯ ประสงค์จะเหยียดออก
จึงเหยียดออกได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”
[567] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บางคนคิดว่า “จะไปในที่แห่งหนึ่ง” แต่ไปในที่อีกแห่งหนึ่ง ฯลฯ คิดว่า
“จะเหยียดแขนข้างหนึ่ง” แต่เหยียดแขนอีกข้างหนึ่ง มีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากบางคนคิดว่า “จะไปในที่แห่งหนึ่ง” แต่ไปในที่อีกแห่งหนึ่ง ฯลฯ
คิดว่า “จะเหยียดแขนข้างหนึ่ง” แต่เหยียดแขนอีกข้างหนึ่งมีอยู่ ดังนั้น ท่านจึง
ควรยอมรับว่า “กายกรรมไม่เป็นไปตามที่คิด”

นยถาจิตตัสสกายกัมมันติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :620 }