เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 9. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา (92)
9. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา (92)
ว่าด้วยวาจาไม่เป็นไปตามที่คิด
[564] สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา
ไม่มีจิตใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้มีผัสสะ มีเวทนา มีสัญญา มีเจตนา มีจิต มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวาจามีได้แก่บุคคลผู้มีผัสสะ ฯลฯ มีจิต ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า
“วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้ไม่นึกถึงอยู่ ฯลฯ ไม่ผูกใจอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วาจามีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ผูกใจอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ มิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 564/246-247)
2 เพราะมีความเห็นว่า วาจาที่เปล่งออกมาไม่อยู่ในการควบคุมของจิต จึงถือว่า วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด
(อภิ.ปญฺจ.อ. 564/246-247)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :616 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 9. นยถาจิตตัสสวาจาติกถา (92)
สก. หากวาจามีได้แก่บุคคลผู้นึกถึงอยู่ ผูกใจอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ ท่านก็ไม่
ควรยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิตมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากวาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิต ท่าน
ก็ไม่ควรยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด”
สก. วาจาไม่เป็นไปตามที่คิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลไม่ประสงค์จะกล่าวก็กล่าวได้ ไม่ประสงค์จะว่าก็ว่าได้ ไม่ประสงค์
จะร้องเรียกก็ร้องเรียกได้ ไม่ประสงค์จะพูดก็พูดได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุคคลประสงค์จะกล่าวจึงกล่าวได้ ประสงค์จะว่าจึงว่าได้ ประสงค์จะ
ร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ประสงค์จะพูดจึงพูดได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากบุคคลประสงค์จะกล่าวจึงกล่าวได้ ประสงค์จะว่าจึงว่าได้ ประสงค์
จะร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ประสงค์จะพูดจึงพูดได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “วาจา
ไม่เป็นไปตามที่คิด”
[565] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วาจาไม่เป็นไปตามที่คิด” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :617 }