เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 6. (ก) อตีตารัมมณกถา (89)
ปร. ปัญญานั้นเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ปัญญาจึงเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ญาณังอนารัมมณันติกถา จบ

6. (ก) อตีตารัมมณกถา (89)
ว่าด้วยจิตมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์
[559] สก. จิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. จิตมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตมีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่มี
อดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” คำของท่านที่ว่า “จิต
ที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” จึงผิด ก็หรือว่าหาก
จิตเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตมีอดีตธรรมเป็น
อารมณ์” คำของท่านที่ว่า “จิตที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ แต่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์” จึงผิด
สก. จิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีต มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอดีตมีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “จิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้”

อตีตารัมมณกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 559-561/245)
2 เพราะมีความเห็นว่า อดีตไม่มี ดังนั้น จิตที่มีอดีตธรรมเป็นอารมณ์ จึงรับรู้อารมณ์ไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
559-561/245)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :610 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 6. (ข) อนาคตารัมมณกถา
6. (ข) อนาคตารัมมณกถา
ว่าด้วยจิตมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์
[560] สก. จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์
ไม่ได้ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. จิตมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ได้มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากจิตมีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตที่มี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” คำของท่านที่ว่า
“จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้” จึงผิด
ก็หรือว่าหากจิตเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “จิตมี
อนาคตธรรมเป็นอารมณ์” คำของท่านที่ว่า “จิตที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้มีอนาคตธรรม
เป็นอารมณ์” จึงผิด
สก. จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจปรารภอนาคตมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความนึกถึง ฯลฯ ความตั้งใจ ปรารภอนาคตมีอยู่ ท่านก็ไม่ควร
ยอมรับว่า “จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์ เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้”

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 559-560/245)
2 เพราะมีความเห็นว่า อนาคตไม่มี ดังนั้น จิตที่มีอนาคตธรรมเป็นอารมณ์จึงรับรู้อารมณ์ไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ.
559-560/245)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :611 }