เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 3. รูปังสารัมมณันติกถา (86)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุถุชนหมายรู้นิพพาน1โดยความ
เป็นนิพพาน ครั้นหมายรู้นิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้วจึงกำหนดหมายนิพพาน
กำหนดหมายในนิพพาน กำหนดหมายโดยความเป็นนิพพาน กำหนดหมาย
นิพพานว่าเป็นของเรา ยินดีนิพพาน”2 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สังโยชน์จึงมีอมตะเป็นอารมณ์ได้
อมตารัมมณกถา จบ

3. รูปังสารัมมณันติกถา (86)
ว่าด้วยรูปที่รับรู้อารมณ์ได้
[552] สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร.3 ใช่4
สก. รูปนั้นมีความนึกถึง ความผูกใจ ความสนใจ ความใฝ่ใจ ความจงใจ
ความปรารถนา ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปนั้นไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปนั้นไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้”

เชิงอรรถ :
1 นิพพาน ในที่นี้หมายถึงนิพพานที่ปุถุชนเข้าใจผิดด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ คือเข้าใจว่าอัตตาที่
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ 5 เป็นนิพพานในปัจจุบัน นิพพานเป็นอัตตา อัตตาเป็นอย่างอื่นจากนิพพาน
ความสุขเป็นนิพพาน หรือนิพพานเป็นของเรา (ม.มู.อ. 1/42)
2 ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/6/9, ที.สี. (แปล) 9/93-98/37-38
3 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 552-553/243)
4 เพราะมีความเห็นว่า รูปทุกชนิดรับรู้อารมณ์ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูปรับรู้อารมณ์
ไม่ได้ แต่เป็นอารัมมณปัจจัยได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. 552-553/243)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :600 }