เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 2. อมตารัมมณกถา (85)
สก. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นเหตุแห่ง
ความกำหนัด ไม่เป็นเหตุแห่งความใคร่ ไม่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา ไม่เป็นเหตุ
แห่งความผูกพัน ไม่เป็นเหตุแห่งความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ฯลฯ ไม่เป็นเหตุแห่ง
ความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
โกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้
ฯลฯ เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ ฯลฯ
เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[551] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :599 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 3. รูปังสารัมมณันติกถา (86)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ปุถุชนหมายรู้นิพพาน1โดยความ
เป็นนิพพาน ครั้นหมายรู้นิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้วจึงกำหนดหมายนิพพาน
กำหนดหมายในนิพพาน กำหนดหมายโดยความเป็นนิพพาน กำหนดหมาย
นิพพานว่าเป็นของเรา ยินดีนิพพาน”2 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สังโยชน์จึงมีอมตะเป็นอารมณ์ได้
อมตารัมมณกถา จบ

3. รูปังสารัมมณันติกถา (86)
ว่าด้วยรูปที่รับรู้อารมณ์ได้
[552] สก. รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ใช่ไหม
ปร.3 ใช่4
สก. รูปนั้นมีความนึกถึง ความผูกใจ ความสนใจ ความใฝ่ใจ ความจงใจ
ความปรารถนา ความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปนั้นไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปนั้นไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้”

เชิงอรรถ :
1 นิพพาน ในที่นี้หมายถึงนิพพานที่ปุถุชนเข้าใจผิดด้วยอำนาจตัณหา มานะ ทิฏฐิ คือเข้าใจว่าอัตตาที่
เพียบพร้อมด้วยกามคุณ 5 เป็นนิพพานในปัจจุบัน นิพพานเป็นอัตตา อัตตาเป็นอย่างอื่นจากนิพพาน
ความสุขเป็นนิพพาน หรือนิพพานเป็นของเรา (ม.มู.อ. 1/42)
2 ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/6/9, ที.สี. (แปล) 9/93-98/37-38
3 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 552-553/243)
4 เพราะมีความเห็นว่า รูปทุกชนิดรับรู้อารมณ์ได้ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูปรับรู้อารมณ์
ไม่ได้ แต่เป็นอารัมมณปัจจัยได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. 552-553/243)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :600 }