เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 2. อมตารัมมณกถา (85)
สก. หากอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่
ตั้งแห่งความกระทบกระทั่ง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้น”
สก. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ทำความไม่เห็น เป็นเหตุแห่ง
ความดับสนิทแห่งปัญญา เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา ไม่เป็นไปเพื่อความดับ
กิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ มิใช่ทำความไม่เห็น เกื้อกูลแก่
ความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นไปในฝ่ายทำลายปัญญา เป็นไปเพื่อความดับกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโมหะ มิใช่ทำความไม่รู้ ฯลฯ เป็นไปเพื่อ
ความดับกิเลส ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้น”
[550] สก. สังโยชน์ปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็น
อารมณ์ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังโยชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์
ของคันถะ ฯลฯ เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ราคะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นเหตุแห่งความกำหนัด
เป็นเหตุแห่งความใคร่ เป็นเหตุแห่งความมัวเมา เป็นเหตุแห่งความผูกพัน เป็นเหตุ
แห่งความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :597 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 2. อมตารัมมณกถา (85)
สก. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ ฯลฯ เป็นเหตุแห่ง
ความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โทสะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความ
โกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความกระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. โมหะปรารภรูปเกิดขึ้น รูปเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ฯลฯ ไม่
เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. โมหะปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโมหะ ทำความไม่รู้ ฯลฯ
ไม่เป็นไปเพื่อความดับกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สังโยชน์ปรารภอมตะเกิดขึ้น อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็น
อารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของโอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็น
อารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็นอารมณ์ของปรามาส ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สังโยชน์ปรารภรูปเกิดขึ้น รูปไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็นอารมณ์
ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :598 }