เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 2. อมตารัมมณกถา (85)
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นว่าเป็นสุข หมายรู้ว่าเป็นสุข รู้สึกว่าเป็นสุข มีใจน้อมไปเนือง ๆ
สม่ำเสมอ ไม่ขาดระยะ มีปัญญาหยั่งรู้ในนิพพานอยู่”1 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น บุคคลผู้เห็นอานิสงส์(ในนิพพาน)จึงละสังโยชน์ได้
อานิสังสทัสสาวีกถา จบ

2. อมตารัมมณกถา (85)
ว่าด้วยสภาวธรรมมีอมตะ(นิพพาน)เป็นอารมณ์
[549] สก. สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. อมตะเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ เป็นอารมณ์ของคันถะ เป็นอารมณ์ของ
โอฆะ เป็นอารมณ์ของโยคะ เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ เป็นอารมณ์ของปรามาส
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เป็นอารมณ์ของสังกิเลสใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ฯลฯ ไม่เป็น
อารมณ์ของสังกิเลสมิใช่หรือ
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.สตฺตก. (แปล) 23/19/28
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 549/243)
3 เพราะมีความเห็นว่าสังโยชน์สามารถรับอมตะเป็นอารมณ์ได้ โดยยึดตามพระสูตรที่ว่า ‘นิพฺพานํ
เมติ มญฺติ’ เป็นต้น (ดูเทียบ ม.มู. (แปล) 12/6/9) ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อมตะ
ไม่สามารถเป็นอารมณ์ของสังโยชน์ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. 549/243)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :595 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [9. นวมวรรค] 2. อมตารัมมณกถา (85)
สก. หากอมตะไม่เป็นอารมณ์ของสังโยชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สังโยชน์มีอมตะเป็นอารมณ์”
สก. ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งราคะ เป็นเหตุแห่งความกำหนัด เป็นเหตุแห่งความ
ใคร่ เป็นเหตุแห่งความมัวเมา เป็นเหตุแห่งความผูกพัน เป็นเหตุแห่งความหลงใหลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด ไม่เป็นเหตุ
แห่งความใคร่ ไม่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา ไม่เป็นเหตุแห่งความผูกพัน ไม่เป็น
เหตุแห่งความหลงใหลมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากอมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งราคะ ไม่เป็นเหตุแห่งความกำหนัด ไม่เป็น
เหตุแห่งความใคร่ ไม่เป็นเหตุแห่งความมัวเมา ไม่เป็นเหตุแห่งความผูกพัน ไม่เป็น
เหตุแห่งความหลงใหล ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ราคะปรารภอมตะเกิดขึ้น”
สก. โทสะปรารภอมตะเกิดขึ้นใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อมตะเป็นที่ตั้งแห่งโทสะ เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ เป็นที่ตั้งแห่งความ
กระทบกระทั่งใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อมตะไม่เป็นที่ตั้งแห่งโทสะ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกระทบกระทั่งมิใช่หรือ
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :596 }