เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [8. อัฏฐมวรรค] 11. กัมมเหตุกถา (83)
สก. เมื่อปฏิสนธิจิตดับ ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยปฏิสนธิจิต ย่อมแตกดับไปส่วน
หนึ่งไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เมื่อปฏิสนธิจิตดับไป ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยปฏิสนธิจิตย่อมแตกดับไปทั้งหมด
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อปฏิสนธิจิตดับไป ชีวิตินทรีย์ที่เกิดด้วยปฏิสนธิจิต ย่อมแตกดับไป
ทั้งหมดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[545] ปร. ชีวิตินทรีย์มี 2 อย่างใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. บุคคลมีชีวิตอยู่ด้วยชีวิตินทรีย์ 2 อย่าง ตายด้วยความตาย 2
อย่างใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ชีวิตินทริยกถา จบ

11. กัมมเหตุกถา (83)
ว่าด้วยเหตุแห่งกรรม
[546] สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 546/241)
2 เพราะมีความเห็นว่า ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว เสื่อมจากความเป็นพระอรหันต์ได้ เพราะกรรมที่ตน
เคยกล่าวตู่พระอรหันต์ในภพก่อน ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า พระอริยบุคคลตั้งแต่พระ
โสดาบันจนถึงพระอรหันต์ จะไม่เสื่อมจากคุณวิเศษที่ตนบรรลุแล้วไม่ว่าเพราะกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
546/241)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :590 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [8. อัฏฐมวรรค] 11. กัมมเหตุกถา (83)
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี เสื่อมจากอนาคามิผล เพราะ
เหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระโสดาบันไม่เสื่อมจากโสดาปัตติผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระสกทาคามี ฯลฯ พระอนาคามี ไม่เสื่อมจากอนาคามิผล เพราะ
เหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระอรหันต์ไม่เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผล เพราะเหตุแห่งกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะเหตุแห่งกรรมคือการฆ่าสัตว์ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะเหตุแห่งกรรมคือการลักทรัพย์ ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือ
การประพฤติผิดในกาม ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการพูดเท็จ ฯลฯ เพราะ
เหตุแห่งกรรมคือการพูดส่อเสียด ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการพูดคำหยาบ
ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการพูดเพ้อเจ้อ ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการฆ่า
มารดา ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือการฆ่าบิดา ฯลฯ เพราะเหตุแห่งกรรมคือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :591 }