เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [8. อัฏฐมวรรค] 9. รูปังกัมมันติกถา (81)
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ฆานายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น ฆานวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชิวหายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น ชิวหาวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กายเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายกรรมจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กายายตนะเป็นรูป เพราะเหตุนั้น กายวิญญาณจึงเป็นรูปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[539] สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่า
เป็นตัวกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรม ด้วยกาย วาจา ใจ”1 มีอยู่จริง มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม”
สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ฉกฺก. (แปล) 22/63/577

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :583 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [8. อัฏฐมวรรค] 9. รูปังกัมมันติกถา (81)
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “อานนท์ เมื่อกายมีอยู่ สุขและ
ทุกข์อันเป็นภายในจึงเกิดขึ้น เพราะกายสัญเจตนา(ความจงใจทางกาย) เป็น
เหตุ หรือว่าเมื่อวาจามีอยู่ สุขและทุกข์อันเป็นภายในจึงเกิดขึ้น เพราะ
วจีสัญเจตนา(ความจงใจทางวาจา) เป็นเหตุ หรือว่า เมื่อใจมีอยู่ สุขและทุกข์อัน
เป็นภายใน จึงเกิดขึ้น เพราะมโนสัญเจตนา(ความจงใจทางใจ) เป็นเหตุ”1 มีอยู่
จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม”
สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กายสัญเจตนา 3
อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก วจีสัญเจตนา 4
อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก มโนสัญเจตนา 3
อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ภิกษุทั้งหลาย
กายสัญเจตนา 3 อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
วจีสัญเจตนา 4 อย่าง เป็นวจีกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก
มโนสัญเจตนา 3 อย่าง เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “รูปเป็นกรรม”
สก. รูปเป็นกรรมใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ สํ.นิ. (แปล) 16/25/50

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :584 }