เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอกุศล จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอกุศลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอกุศลมีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่ายินดี
มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอกุศลก็มีผล มีวิบาก มีผลไม่น่าปรารถนา มีผลไม่น่า
ยินดี มีผลไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[103] สก. เพราะอาศัยวิญญาณ จึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยวิญญาณที่เป็นอัพยากฤต จึงบัญญัติบุคคลที่เป็นอัพยากฤต
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิญญาณที่เป็นอัพยากฤตไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลที่เป็นอัพยากฤตก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :58 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
[104] สก. เพราะอาศัยจักษุ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลมีจักษุ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อจักษุดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีจักษุดับ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยโสตะ ฯลฯ เพราะอาศัยฆานะ ฯลฯ เพราะอาศัยชิวหา ฯลฯ
เพราะอาศัยกาย ฯลฯ เพราะอาศัยมโน ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีมโน” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมโนดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้มีมโนดับ” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น
[105] สก. เพราะอาศัยมิจฉาทิฏฐิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลเป็นมิจฉาทิฏฐิ”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมิจฉาทิฏฐิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิดับ”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เพราะอาศัยมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวาจา ฯลฯ เพราะ
อาศัยมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาวายามะ
ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสติ ฯลฯ เพราะอาศัยมิจฉาสมาธิ ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคล
เป็นมิจฉาสมาธิ” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เมื่อมิจฉาสมาธิดับแล้ว ท่านจึงยอมรับว่า “บุคคลผู้เป็นมิจฉาสมาธิดับ”
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :59 }