เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [8. อัฏฐมวรรค] 4. กามกถา (76)
ปร. ดังนั้น อายตนะ 5 เท่านั้นจึงเป็นกาม
สก. อายตนะ 5 เท่านั้นเป็นกามใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการอะไรบ้าง คือ (1) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ (5) โผฏฐัพพะ
ที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจ
ให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย แต่สิ่งเหล่านี้
ไม่เรียกว่ากาม สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณ ในอริยวินัย
(พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัส
คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า)
สังกัปปราคะของบุรุษ ชื่อว่ากาม1
อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ชื่อว่ากาม
สังกัปปราคะของบุรุษ ชื่อว่ากาม
อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลก
ตั้งอยู่ตามสภาพของตนเท่านั้น
แต่ธีรชนทั้งหลาย ย่อมกำจัดความพอใจ
ในอารมณ์ที่วิจิตรเหล่านั้น” 2
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “อายตนะ 5 เท่านั้นเป็นกาม”

กามกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 กาม หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความดำริในวัตถุมีรูปร่างที่งดงาม เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/63/
148, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/63/70) และเป็นชื่อเรียกกิเลสกามอีกชื่อหนึ่งในจำนวนชื่อเรียกกาม 18 ชื่อ (ดูเทียบ
ขุ.ม. (แปล) 29/1/2, ขุ.จู. (แปล) 30/8/66-67)
2 ดูเทียบ องฺ. ฉกฺก. (แปล) 22/63/572

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :551 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [8. อัฏฐมวรรค] 5. รูปธาตุกถา (77)
5. รูปธาตุกถา (77)
ว่าด้วยรูปธาตุ
[515] สก. สภาวธรรมที่เป็นรูปเป็นรูปธาตุใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. รูปเป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็นสงสาร เป็นกำเนิด เป็น
วิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่ให้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงรูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูป มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในรูป มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปเป็นภพที่มีขันธ์ 5 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปธาตุเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปเป็นภพ เป็นคติ ฯลฯ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 515/236)
2 เพราะมีความเห็นว่า รูป 28 เท่านั้น ชื่อว่ารูปธาตุ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า รูป 28 เป็น
กามธาตุ ไม่ใช่รูปธาตุ (อภิ.ปญฺจ.อ. 515-516/236)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :552 }