เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [8. อัฏฐมวรรค] 3. กามคุณกถา (75)
สก. ในกามคุณ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย
คู่พระอัครสาวกอุบัติขึ้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[512] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กามคุณ 5 เท่านั้นเป็นกามธาตุ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 1 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ (1) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด (2) เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ (3)
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ (4) รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ (5) โผฏฐัพพะที่
พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจ
ให้กำหนัด ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้”2 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น กามคุณ 5 เท่านั้นจึงเป็นกามธาตุ

กามคุณกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 กามคุณ แยกอธิบายว่า ที่ชื่อว่ากาม เพราะมีความหมายว่าเป็นสิ่งที่บุคคลพึงใคร่ ที่ชื่อว่าคุณ เพราะมี
ความหมายว่าผูกพันไว้ ร้อยรัดไว้ เหมือนคำว่า อนฺตํ อนฺตคุณํ (ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก ที.ม. (แปล) 10/377/
251, ม.มู. (แปล) 12/110/79, ขุ.ขุ. (แปล) 25/3/2, และเหมือนคำว่า กยิรา มาลาคุเณ พหู
(ช่างดอกไม้พึงร้อยพวงมาลัยไว้เป็นจำนวนมาก (ขุ.ธ. (แปล) 25/53/26, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/63/148)
2 ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) 18/267/296

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :549 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [8. อัฏฐมวรรค] 4. กามกถา (76)
4. กามกถา (76)
ว่าด้วยกาม
[513] สก. อายตนะ 5 เท่านั้นเป็นกามใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ความพอใจที่เกี่ยวกับอายตนะ 5 นั้นมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากความพอใจเกี่ยวกับอายตนะ 5 นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับ
ว่า “อายตนะ 5 เท่านั้นเป็นกาม”
สก. ความกำหนัด ความพอใจ ความกำหนัดและความพอใจที่เกี่ยวกับอายตนะ
5 นั้น ... ความดำริ ความกำหนัด ความดำริและความกำหนัดที่เกี่ยวกับอายตนะ
5 นั้น ... ปีติ โสมนัส ปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับอายตนะ 5 นั้น มีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากปีติและโสมนัสที่เกี่ยวกับอายตนะ 5 นั้นมีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอม
รับว่า “อายตนะ 5 เท่านั้นเป็นกาม”
[514] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อายตนะ 5 เท่านั้นเป็นกาม” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้
5 ประการ อะไรบ้าง คือ (1) รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ฯลฯ (5) โผฏฐัพพะที่พึงรู้
แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ 5 ประการนี้”3 มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายปุพพเสลิยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 513/236)
2 เพราะมีความเห็นว่า อายตนะ 5 มีรูปายตนะ เป็นต้น ยกเว้นธัมมายตนะ ชื่อว่ากาม กิเลสกามไม่ชื่อว่า
กาม (อภิ.ปญฺจ.อ. 513/236)
3 ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) 18/267/296

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :550 }