เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
สก. วิญญาณไม่ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น (ย่อ)
สก. เมื่อขันธ์แตกดับ หากบุคคลนั้นแตกดับ
ก็จะเป็นอุจเฉททิฏฐิที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเว้น
เมื่อขันธ์แตกดับ หากบุคคลไม่แตกดับ
บุคคลก็จะเที่ยงเสมอเหมือนนิพพาน1
คติอนุโยคะ จบ

12. อุปาทาปัญญัตตานุโยคะ
ว่าด้วยการซักถามถึงอุปาทาบัญญัติ2
[95] สก. เพราะอาศัยรูปจึงบัญญัติบุคคลใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป
คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แม้บุคคลก็ไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรผันไปเป็นธรรมดาใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น3 ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 เที่ยงเสมอเหมือนนิพพาน หมายถึง นิพพานคือภาวะที่ไม่เกิดไม่ดับ ถ้าถือว่าบุคคลเที่ยงเหมือนนิพพาน
ก็จัดเป็นสัสสตทิฏฐิ (อภิ.ปญฺจ.อ. 94/148)
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 2 หน้า 3 ในเล่มนี้
3 ปรวาทียังยึดถือความเห็นเดิมของตนที่ว่า บุคคเที่ยง จึงตอบปฏิเสธ (อภิ.ปญฺจ.อ. 95/149)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :54 }