เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 10. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา (72)
ปร. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล มีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็น
เหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงจุติและปฏิสนธิ
ใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กามาวจรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. โลกุตตรกุศลมีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. รูปาวจรกุศล ฯลฯ อรูปาวจรกุศล มีวิบาก เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุ
ให้ถึงนิพพานใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อริยธัมมวิปากกถา จบ

10. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา (72)
ว่าด้วยวิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก
[501] สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร.1 ใช่2

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 501/230-231)
2 เพราะมีความเห็นว่า วิบากสามารถเป็นกรรมได้ โดยอ้างหลักการแห่งอัญญมัญญปัจจัยในปัฏฐาน ซึ่ง
ต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า วิบากเป็นเพียงปัจจัยเกื้อหนุนแก่กันและกันเท่านั้น (อภิ.ปญฺจ.อ.
501/230-231)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :532 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 10. วิปาโกวิปากธัมมธัมโมติกถา (72)
สก. วิบากแห่งวิบากนั้น เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากแห่งวิบากนั้น เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การทำที่สุดแห่งทุกข์ไม่มี การตัดขาดจากวัฏฏะไม่มี อนุปาทาปรินิพพาน
ก็ไม่มีแก่วิบากแห่งวิบากที่เป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากทั้ง 2 ชั้นดังกล่าว
มานั้นใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บัญญัติว่าวิบากกับสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบาก หรือบัญญัติว่า
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากกับวิบาก นี้นั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน เสมอกัน
มีส่วนเท่ากัน มีสภาพเหมือนกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วิบากและสภาวธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก สภาวธรรมที่เป็นเหตุแห่งวิบาก
และวิบากสหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่าง
เดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วิบากเป็นสภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. อกุศลกับวิบากแห่งอกุศลเป็นอันเดียวกัน กุศลกับวิบากแห่งกุศลเป็น
อันเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :533 }