เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 7. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (69)
สก. สัตว์บางพวกใช้กรรมวิบากยังไม่หมดสิ้นแล้วปรินิพพานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์เหล่าอื่นก็อาศัยแผ่นดินใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์เหล่าอื่นอาศัยกรรมวิบากของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์เหล่าอื่นอาศัยกรรมวิบากของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์เหล่าอื่นอาศัยผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ
สติ สมาธิ ปัญญา ของพระเจ้าจักรพรรดิใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[494] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. กรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ กรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็น
ใหญ่ในแผ่นดินมีอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากกรรมที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีอำนาจ กรรมที่เป็นไปเพื่อความ
เป็นใหญ่มีอยู่ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก”

ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :525 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 8. ชรามรณังวิปาโกติกถา (70)
8. ชรามรณังวิปาโกติกถา (70)
ว่าด้วยชรามรณะเป็นวิบาก
[495] สก. ชรามรณะเป็นวิบากใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. ชรามรณะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ
มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มี
ความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “ชรามรณะเป็น
วิบาก”
สก. ผัสสะเป็นวิบาก ผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชรามรณะเป็นวิบาก ชรามรณะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 495-497/228-229)
2 เพราะมีความเห็นว่า ชรามรณะเป็นผลแห่งกรรม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า ชรามรณะ
มิได้เกิดจากกรรม แต่เป็นธัมมนิยาม คือเป็นไปเองตามสภาวะ มิใช่เกิดจากการกระทำของผู้ใด (อภิ.ปญฺจ.อ.
495-497/228-229)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :526 }