เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 7. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (69)
จึงเลี้ยงมารดาบิดา ช่วยทำกิจของท่าน
เชื่อฟังโอวาท ตอบสนองพระคุณท่าน
ดำรงวงศ์ตระกูลสมกับที่ท่านเป็นบุพการี
บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมเป็นที่สรรเสริญ” 1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น เปรตทั้งหลายชื่อว่าย่อมดำรงชีพในเปตโลกนั้น ด้วยทานที่
บุคคลอุทิศให้จากโลกนี้ได้
อิโตทินนกถา จบ

7. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (69)
ว่าด้วยแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก
[492] สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบากใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. แผ่นดินมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วย
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ
สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วยเจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้
อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ
มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/39/60-61
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 492/227)
3 เพราะมีความเห็นว่า แผ่นดิน มหาสมุทร เป็นต้น เป็นผลแห่งกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. 492/227)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :521 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 7. ปฐวีกัมมวิปาโกติกถา (69)
สก. แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ไม่มีอทุกขมสุขเวทนา ไม่สัมปยุต
ด้วยสุขเวทนา ไม่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ไม่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา
ไม่สัมปยุตด้วยผัสสะ ไม่สัมปยุตด้วยเวทนา ไม่สัมปยุตด้วยสัญญา ไม่สัมปยุต
ด้วยเจตนา ไม่สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ไม่มีความผูกใจ
ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความปรารถนา ไม่มีความตั้งใจ มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากแผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า แผ่นดินเป็นกรรม
วิบาก”
สก. ผัสสะเป็นกรรมวิบาก ผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุข-
เวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา ฯลฯ สัมปยุตด้วยอทุกขม-
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วย
เจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก แผ่นดินมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขม-
สุขเวทนา สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข-
เวทนา สัมปยุตด้วยผัสสะ สัมปยุตด้วยเวทนา สัมปยุตด้วยสัญญา สัมปยุตด้วย
เจตนา สัมปยุตด้วยจิต รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มีความผูกใจ มีความสนใจ
มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก (ทั้ง ๆ ที่)แผ่นดินไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา
ฯลฯ รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :522 }