เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 4. ทานกถา (66)
ของมึนเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นเหตุแห่งความประมาท ชื่อว่า
ให้ความไม่มีภัย ให้ความไม่มีเวร ให้ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้ง
หลายไม่มีประมาณ นี้เป็นทาน ประการที่ 5 เป็นมหาทาน ที่รู้
กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่า เป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ใน
อดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง
ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
ภิกษุทั้งหลาย ทาน 5 ประการนี้ จัดเป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กัน
มานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง
ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน”1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงเป็นทาน
[481] สก. ท่านไม่ยอมรับว่า “ไทยธรรมเป็นทานได้” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว
น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป” มีอยู่จริง
มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น ไทยธรรมจึงเป็นทานได้
[482] ปร. ไทยธรรมเป็นทานได้ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ไทยธรรมมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุข
เป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา จีวรเป็นทาน ใช่ไหม
สก. ใช่

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) 23/39/300-301

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :511 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 5. ปริโภคมยปุญญกถา (67)
ปร. จีวรมีผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นทานใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผล
เยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น ท่านจึงไม่ควรยอมรับว่า “ไทยธรรมเป็นทานได้”
ทานกถา จบ

5. ปริโภคมยปุญญกถา (67)
ว่าด้วยบุญสำเร็จด้วยการบริโภค
[483] สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค1 เจริญได้ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค เจริญได้ใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 บุญที่สำเร็จด้วยการบริโภค ในที่นี้หมายถึงบุญที่เกิดจากวัตถุทานที่ผู้รับ (ปฏิคาหก) นำไปใช้สอย (อภิ.ปญฺจ.อ.
483/224-225)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 483/225)
3 เพราะมีความเห็นว่า วัตถุทานที่ผู้รับนำไปใช้สอยเท่านั้นจึงเกิดบุญ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า
บุญเกิดจากจาคเจตนาใน 3 กาล คือ (1) ปุริมเจตนา (เจตนาก่อนให้) (2) มุญจนเจตนา (เจตนากำลังให้)
(3) อปราปรเจตนา (เจตนาหลังจากให้แล้ว) โดยไม่คำนึงถึงว่าจะใช้สอยวัตถุทานนั้นหรือไม่ (อภิ.ปญฺจ.อ.
483/225)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :512 }