เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 4. ทานกถา (66)
ปร. ทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็น
กำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็น
ทานได้”
สก. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา จีวรเป็นทาน ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จีวรมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นทาน ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผล
เยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[480] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ
และทานที่เป็นกุศล อันสัตบุรุษดำเนินตามแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :509 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 4. ทานกถา (66)
สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวว่าธรรม 3 ประการนี้
เป็นทางไปสู่เทวโลก
เพราะธรรม 3 ประการนี้แล บุคคลจึงไปสู่เทวโลกได้” 1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงเป็นทานได้
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทาน 5 ประการนี้
เป็นมหาทานที่รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ใน
อดีตไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็จัก
ไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน ทาน 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ อริยสาวก
ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว ชื่อว่าให้ความไม่มีภัย ให้ความไม่มี
เวร ให้ความไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ย่อมเป็น
ผู้มีส่วนแห่งความไม่มีภัย ความไม่มีเวร ความไม่เบียดเบียนอัน
ไม่มีประมาณ นี้เป็นทานประการที่ 1 เป็นมหาทาน ที่รู้กันว่าล้ำเลิศ
รู้กันมานาน รู้กันว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ในอดีตไม่ถูกลบ
ล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ในปัจจุบันไม่ถูกลบล้าง ในอนาคตก็
จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน
2. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการลักทรัพย์ ฯลฯ
3. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ฯลฯ
4. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ ฯลฯ
5. อริยสาวกเป็นผู้ละเว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นเหตุแห่งความประมาท อริยสาวกผู้เว้นขาดจากการเสพ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ องฺ.อฏฺฐก. (แปล) 23/32/288

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :510 }