เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 4. ทานกถา (66)
4. ทานกถา (66)
ว่าด้วยทาน1
[478] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้ใช่ไหม
ปร.2 ใช่
สก. จะให้สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกแก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จะให้สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกแก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จะให้ผัสสะแก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จะให้เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา แก่คนอื่น ๆ ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[479] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ทานมีผลไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ มีผลเร่าร้อน มีทุกข์
เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ทาน โดยทั่วไปมี 3 อย่าง คือ (1) จาคเจตนา (เจตนาเป็นเหตุบริจาค) (2) วิรัติ (การงดเว้น) (3) ไทยธรรม
(การให้สิ่งของ) ทาน 3 ประการนี้ย่นลงเป็น 2 คือ (1) เจตสิกธรรม (จาคเจตนาและวิรัติ) (2) ไทยธรรม
ซึ่งฝ่ายปรวาทีมีความเห็นว่า เจตสิกธรรมเท่านั้น เรียกว่าทาน ส่วนไทยธรรมไม่เรียกว่า ทาน (อภิ.ปญฺจ.อ.
478/223)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 478/223)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :508 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 4. ทานกถา (66)
ปร. ทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากทานมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็น
กำไร มีสุขเป็นวิบาก ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็น
ทานได้”
สก. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา จีวรเป็นทาน ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จีวรมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผลเยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ทาน พระผู้มีพระภาคตรัสว่ามีผลน่าปรารถนา บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเป็นทาน ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ มีผล
เยือกเย็น มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[480] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นทานได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“ธรรมเหล่านี้ คือ ศรัทธา หิริ
และทานที่เป็นกุศล อันสัตบุรุษดำเนินตามแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :509 }