เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 3. เจตสิกกถา (65)
สก. ผัสสะเกิดร่วมกับจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากผัสสะเกิดร่วมกับจิต ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ผัสสะเป็นเจตสิก”
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
เกิดร่วมกับจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะเกิดร่วมกับจิต ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อโนตตัปปะเป็นเจตสิก”
[476] ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับจิต” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นเจตสิก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับผัสสะ” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นผัสสิกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับจิต” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นเจตสิก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับเวทนา ฯลฯ เกิดร่วมกับ
สัญญา ฯลฯ เกิดร่วมกับเจตนา ฯลฯ เกิดร่วมกับสัทธา ฯลฯ เกิดร่วมกับวิริยะ
ฯลฯ เกิดร่วมกับสติ ฯลฯ เกิดร่วมกับสมาธิ ฯลฯ เกิดร่วมกับปัญญา ฯลฯ
เกิดร่วมกับราคะ ฯลฯ เกิดร่วมกับโทสะ ฯลฯ เกิดร่วมกับโมหะ ฯลฯ เกิดร่วม
กับอโนตตัปปะ” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมเป็นอโนตตัปปาสิกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :506 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 3. เจตสิกกถา (65)
[477] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“จิตนี้และสภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
ย่อมปรากฏแก่ผู้รู้แจ้งชัดแล้วโดยความเป็นอนัตตา
ครั้นรู้ชัดสภาวธรรมทั้ง 2 นั้น ทั้งที่หยาบและประณีต
จึงเป็นผู้มีความเห็นโดยชอบ ทราบชัดว่า มีความแตกดับเป็นธรรมดา”
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงมีอยู่
สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “เกวัฏฏะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
ทายจิต ทายเจตสิก ทายวิตกวิจาร ของสัตว์อื่น ๆ ของบุคคลอื่น ๆ ว่า ใจของ
ท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการอย่างนี้ ความคิดของท่านเป็นดังนี้”1
มีอยู่จริงมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. ดังนั้น สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกจึงมีอยู่

เจตสิกกถา จบ

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.ปา. (แปล) 11/148/108

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :507 }