เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 3. เจตสิกกถา (65)
สก. สัญญาขันธ์ ฯลฯ สังขารขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เกิดร่วมกับ
เวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ สังขารขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณขันธ์เกิดร่วมกับสังขารขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วิญญาณขันธ์สัมปยุตด้วยสังขารขันธ์”
[474] ปร. สภาวธรรมเหล่านั้นแทรกซึมอยู่กับสภาวธรรมเหล่านั้น เหมือน
น้ำมันซึมซับอยู่ในเมล็ดงา น้ำอ้อยซึมซับอยู่ในต้นอ้อยใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สัมปยุตตกถา จบ

3. เจตสิกกถา (65)
ว่าด้วยเจตสิก
[475] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิด
พร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตมีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มี”

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 475-477/223)
2 เพราะมีความเห็นว่า ไม่สามารถจะแยกสภาวธรรมที่เรียกว่า เจตสิกออกจากจิตได้ จึงถือว่าไม่มีเจตสิก
อยู่จริง (อภิ.ปญฺจ.อ. 475-477/223)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :505 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 3. เจตสิกกถา (65)
สก. ผัสสะเกิดร่วมกับจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากผัสสะเกิดร่วมกับจิต ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “ผัสสะเป็นเจตสิก”
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ สัทธา ฯลฯ วิริยะ ฯลฯ
สติ ฯลฯ สมาธิ ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ ฯลฯ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ
เกิดร่วมกับจิตใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากอโนตตัปปะเกิดร่วมกับจิต ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อโนตตัปปะเป็นเจตสิก”
[476] ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับจิต” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นเจตสิก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับผัสสะ” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นผัสสิกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับจิต” จึงยอมรับว่า
“สภาวธรรมเป็นเจตสิก” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. เพราะท่านเข้าใจว่า “สภาวธรรมเกิดร่วมกับเวทนา ฯลฯ เกิดร่วมกับ
สัญญา ฯลฯ เกิดร่วมกับเจตนา ฯลฯ เกิดร่วมกับสัทธา ฯลฯ เกิดร่วมกับวิริยะ
ฯลฯ เกิดร่วมกับสติ ฯลฯ เกิดร่วมกับสมาธิ ฯลฯ เกิดร่วมกับปัญญา ฯลฯ
เกิดร่วมกับราคะ ฯลฯ เกิดร่วมกับโทสะ ฯลฯ เกิดร่วมกับโมหะ ฯลฯ เกิดร่วม
กับอโนตตัปปะ” จึงยอมรับว่า “สภาวธรรมเป็นอโนตตัปปาสิกะ” ใช่ไหม
สก. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :506 }