เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 2. สัมปยุตตกถา (64)
2. สัมปยุตตกถา (64)
ว่าด้วยสัมปยุตตธรรม
[473] สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมบางเหล่าไม่มี
ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน เกิดพร้อมกัน ดับพร้อม
กัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน เกิดพร้อมกัน ดับ
พร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมบางเหล่าที่สัมปยุตด้วยสภาวธรรมบางเหล่า
ไม่มี”
สก. เวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสัญญาขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสัญญาขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยสัญญาขันธ์”
สก. เวทนาขันธ์เกิดร่วมกับสังขารขันธ์(และ)วิญญาณขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากเวทนาขันธ์เกิดร่วมกับวิญญาณขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“เวทนาขันธ์สัมปยุตด้วยวิญญาณขันธ์”

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 473/222)
2 เพราะมีความเห็นว่า เวทนาสัมปยุตด้วยนามธรรมไม่ได้ (อภิ.ปญฺจ.อ. 473/222)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :504 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 3. เจตสิกกถา (65)
สก. สัญญาขันธ์ ฯลฯ สังขารขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ เกิดร่วมกับ
เวทนาขันธ์ ฯลฯ สัญญาขันธ์ ฯลฯ สังขารขันธ์ได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากวิญญาณขันธ์เกิดร่วมกับสังขารขันธ์ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“วิญญาณขันธ์สัมปยุตด้วยสังขารขันธ์”
[474] ปร. สภาวธรรมเหล่านั้นแทรกซึมอยู่กับสภาวธรรมเหล่านั้น เหมือน
น้ำมันซึมซับอยู่ในเมล็ดงา น้ำอ้อยซึมซับอยู่ในต้นอ้อยใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สัมปยุตตกถา จบ

3. เจตสิกกถา (65)
ว่าด้วยเจตสิก
[475] สก. สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มีใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดพร้อมกัน
ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตมีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิด
พร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตมีอยู่
ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกไม่มี”

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 475-477/223)
2 เพราะมีความเห็นว่า ไม่สามารถจะแยกสภาวธรรมที่เรียกว่า เจตสิกออกจากจิตได้ จึงถือว่าไม่มีเจตสิก
อยู่จริง (อภิ.ปญฺจ.อ. 475-477/223)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :505 }