เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] รวมกถาที่มีในวรรค
[470] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นผู้ก้าวไป ถอยกลับ แลดู มองดู คู้เข้า เหยียดออกมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นผู้ก้าวไป ถอยกลับ แลดู มองดู คู้เข้า เหยียดออก ดังนั้น
ท่านก็ควรยอมรับว่า “กายกรรมเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา จบ
เรื่องสุดท้ายพึงทราบว่า เริ่มต้นแต่ปฐวีสนิทัสสนะจนถึงกายกัมมสนิทัสสนะ
ฉัฏฐวรรค จบ

รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

1. นิยามกถา 2. ปฏิจจสมุปปาทกถา
3. สัจจกถา 4. อารุปปกถา
5. นิโรธสมาปัตติกถา 6. อากาสกถา
7. อากาโสสนิทัสสโนติกถา 8. ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา
9. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา 10. กายกัมมังสนิทัสสนันติกถา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :500 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [7. สัตตมวรรค] 1. สังคหิตกถา (63)
7. สัตตมวรรค
1. สังคหิตกถา (63)
ว่าด้วยสภาวธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้
[471] สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้1กับสภาวธรรมบางเหล่า
ไม่มีใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. สภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่องกับ
สภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่มิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากสภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้ จัดเข้าหัวข้อได้ นับเนื่อง
กับสภาวธรรมบางเหล่ามีอยู่ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “สภาวธรรมบางเหล่าที่
สงเคราะห์เข้าได้กับสภาวธรรมบางเหล่าไม่มี”
สก. จักขายตนะสงเคราะห์เข้าในขันธ์ไหน
ปร. สงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์
สก. หากจักขายตนะสงเคราะห์เข้าในรูปขันธ์ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“จักขายตนะสงเคราะห์เข้าได้กับรูปขันธ์”

เชิงอรรถ :
1 สงเคราะห์เข้าได้ โดยทั่วไปเห็นว่า มีสภาวธรรมบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้าได้และมีบางเหล่าที่สงเคราะห์เข้า
ไม่ได้ ดูรายละเอียดในธาตุกถา (แปล) 36/1/1
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายราชคิริกะและนิกายสิทธัตถิกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 471/221)
3 เพราะมีความเห็นว่า คำว่า สงเคราะห์ หมายถึงการรวมสภาวธรรมอย่างหนึ่งเข้ากับสภาวธรรมอีกอย่าง
หนึ่งให้เป็นอย่างเดียวกันตามรูปศัพท์จึงถือว่าทำไม่ได้ เพราะสภาวธรรมแต่ละอย่างมีลักษณะเป็นของ
ตนเองที่ไม่อาจจะเหมือนหรือเข้ากันได้กับสภาวธรรมอื่น เช่นเดียวกับการจับวัว 2 ตัวมาร้อยเข้าด้วยกัน
ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการสงเคราะห์เข้าด้วยกัน (อภิ.ปญฺจ.อ. 471/221)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :501 }