เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
ปร. หากบุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดในเทวโลกแล้ว ยังเป็น
โสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า “บุคคลคน
เดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้”
[88] สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไป
เกิดในเทวโลกแล้วยังเป็นโสดาบันอยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น” จึงยอมรับว่า
“บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จากโลกอื่นมาสู่โลกนี้”
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะท่านเข้าใจว่า “บุคคลผู้เป็นโสดาบันจุติจากมนุษยโลกไปเกิดใน
เทวโลกแล้ว ยังเป็นมนุษย์อยู่เหมือนเดิมแม้ในเทวโลกนั้น” จึงยอมรับว่า “บุคคล
คนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นจากโลกอื่นมาสู่โลกนี้” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[89] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลมิใช่คนละคนกัน ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[90] สก. บุคคลมิใช่คนละคนกัน ไม่แปรผัน ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. คนมือด้วนก็เป็นคนมือด้วนอยู่เหมือนเดิม ... คนเท้าด้วนก็เป็นคนเท้า
ด้วนอยู่เหมือนเดิม ... คนมีมือและเท้าด้วนก็เป็นคนมีมือและเท้าด้วนอยู่เหมือนเดิม
... คนหูวิ่น ... คนจมูกโหว่ ... คนทั้งหูวิ่นทั้งจมูกโหว่ ... คนนิ้วด้วน ... คน
มีหัวแม่มือหัวแม่เท้าด้วน ... คนเอ็นใหญ่ขาด ... คนมือหงิก ... คนเป็นโรคเรื้อน
... คนเป็นโรคต่อม ... คนเป็นโรคกลาก ... คนเป็นโรคมองคร่อ ... คนเป็นโรค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :50 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [1. มหาวรรค] 1. ปุคคลกถา
ลมบ้าหมู ... อูฐ ... โค ... ลา ... สุกร ... กระบือก็เป็นกระบืออยู่เหมือนเดิม
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[91] สก. บุคคลคนเดียวกันนั่นแหละท่องเที่ยวจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น จาก
โลกอื่นมาสู่โลกนี้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เป็นผู้มีรูป1ท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้มีรูปท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่2
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้มีเวทนา ฯลฯ เป็นผู้มีสัญญา ฯลฯ เป็นผู้มีสังขาร ฯลฯ
เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เป็นผู้มีวิญญาณท่องเที่ยวไปใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกันใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงท่องเที่ยวไปพร้อมกับรูปกาย (อภิ.ปญฺจ.อ. 91/147)
2 เพราะมีความเห็นว่า บุคคลผู้อยู่ในอันตรภพเมื่อจุติไปเกิดในครรภ์มารดา(ในภพอื่น) จะไปพร้อมกับรูป
กายของตนขณะอยู่ในอันตรภพ (คล้ายสัมภเวสี) คำว่า อันตรภพ หมายถึงภพที่อยู่ในระหว่างตายกับเกิด
หรือถพนี้กับภพหน้า (อภิ.ปญฺจ.อ. 91/147)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :51 }