เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 9. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา (61)
ปร. หากท่านเห็นไฟที่ลุกโพลงอยู่ได้ ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า เตโชธาตุ
เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “วาโยธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดให้โยกโคลงอยู่มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมพัดให้โยกโคลงอยู่ได้ ดังนั้น ท่านจึงควร
ยอมรับว่า “วาโยธาตุเป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”
ปฐวีธาตุสนิทัสสนาติอาทิกถา จบ

9. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา (61)
ว่าด้วยจักขุนทรีย์เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ เป็นต้น
[467] สก. จักขุนทรีย์เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จักขุนทรีย์เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ ฯลฯ มาสู่คลองจักษุ
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จักขุนทรีย์เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :497 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 9. จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา (61)
สก. เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริงหรือ
ปร. ไม่มี
สก. พระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ” มีอยู่จริง
ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. หากพระสูตรที่ว่า “เพราะอาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ”
มีอยู่จริง ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “เพราะอาศัยจักษุและจักขุนทรีย์ จึงเกิดจักขุ-
วิญญาณ”
[468] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อินทรีย์ 5 เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. ท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายมิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากท่านเห็นจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ดังนั้น ท่านจึงควรยอมรับว่า
“อินทรีย์ 5 เป็นสภาวธรรมที่เห็นได้”

จักขุนทริยังสนิทัสสนันติอาทิกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :498 }