เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 5. นิโรธสมาปัตติกถา (57)
สก. จิตตสังขารของผู้ออกจากนิโรธสมาบัติเกิดขึ้นก่อน ต่อจากนั้น กาย-
สังขารจึงเกิด ต่อจากนั้น วจีสังขารจึงเกิดใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตตสังขารของผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นก่อน
ต่อจากนั้น กายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้น วจีสังขารจึงเกิดใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ผัสสะทั้ง 3 คือ (1) สุญญตผัสสะ (2) อนิมิตตผัสสะ (3) อัปปณิหิต-
ผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากนิโรธแล้วใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ผัสสะทั้ง 3 คือ (1) สุญญตผัสสะ (2) อนิมิตตผัสสะ (3) อัปปณิหิต-
ผัสสะ ย่อมถูกต้องผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้วใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. จิตของผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้วย่อมน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก
โอนไปสู่วิเวกใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. จิตของผู้ออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้วย่อมน้อมไปสู่วิเวก
โน้มไปสู่วิเวก โอนไปสู่ วิเวกใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[459] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
สก. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ปร. ดังนั้น นิโรธสมาบัติจึงเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

นิโรธสมาปัตติกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :490 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 6. อากาสกถา (58)
6. อากาสกถา (58)
ว่าด้วยอากาศ
[460] สก. อากาศ1เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. อากาศเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่หมาย
เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี 2 อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาศเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่

เชิงอรรถ :
1 อากาศ มี 3 ชนิด คือ (1) ปริจเฉทากาศ (ช่องว่างระหว่างรูปกลาปหนึ่ง ๆ) (2) กสิณุคฆาฏิมากาศ
(ความว่างของจิต หลังจากถอนจากกสิณหนึ่ง ๆ) (3) อัชฌัตตากาศ (อากาศที่ทั่วไป) (อภิ.ปญฺจ.อ. 460-
462/220)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอุตตราปถกะและนิกายมหิสาสกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 460-462/220)
3 เพราะมีความเห็นว่า อากาศทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นอสังขตะ ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่เห็นว่า อากาศ
ชนิดแรกเป็นสังขตะ อีก 2 ชนิดเป็นเพียงบัญญัติ (อภิ.ปญฺจ.อ. 460-462/220)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :491 }