เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 5. นิโรธสมาปัตติกถา (57)
[456] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อรูปฌาน 4 เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อรูปฌาน 4 พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมไม่หวั่นไหว มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอรูปฌาน 4 พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมไม่หวั่นไหว ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “อรูปฌาน 4 เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
อารุปปกถา จบ

5. นิโรธสมาปัตติกถา (57)
ว่าด้วยนิโรธสมาบัติ
[457] สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. นิโรธสมาบัติเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น
ที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 457/219)
2 เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากนิโรธสมาบัติเป็นสภาวะที่ดับแล้ว จึงเป็นอสังขตะ ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า นิโรธสมาบัติเป็นทั้งสังขตะ และอสังขตะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 457/219)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :488 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 5. นิโรธสมาปัตติกถา (57)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ที่ต้านทานมี 2 อย่าง ฯลฯ ช่องว่างแห่งนิพพานมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกเข้านิโรธสมาบัติ ได้นิโรธสมาบัติ ให้นิโรธสมาบัติ
อุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี ให้ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง
ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. บุคคลบางพวกเข้าสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ได้สภาวธรรมที่ไม่
ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ให้สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอุบัติขึ้น ให้อุบัติขึ้นด้วยดี ให้
ตั้งขึ้น ให้ตั้งขึ้นด้วยดี ให้บังเกิด ให้บังเกิดโดยยิ่ง ให้เกิด ให้เกิดด้วยดี มีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[458] สก. ความผ่องแผ้ว ความออกจากนิโรธสมาบัติ ปรากฏได้ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ความผ่องแผ้ว ความออกจากสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ปรากฏ
ได้ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. วจีสังขารของผู้เข้านิโรธสมาบัติอยู่ดับไปก่อน ต่อจากนั้น กายสังขารจึงดับ
ต่อจากนั้น จิตสังขารจึงดับใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. วจีสังขารของผู้เข้าสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งอยู่ดับไปก่อน ต่อจากนั้น
กายสังขารจึงดับ ต่อจากนั้น จิตตสังขารจึงดับใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :489 }