เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 4. อารุปปกถา (56)
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง เป็นภพ เป็นคติ เป็นสัตตาวาส เป็น
สงสาร เป็นกำเนิด เป็นวิญญาณฐิติ เป็นการได้อัตภาพใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. กรรมที่เป็นเหตุเข้าถึงสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงอากาสานัญจายตนฌานมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สัตว์ผู้เข้าถึงสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอากาสานัญจายตนฌาน มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง มีสัตว์เกิด แก่ ตาย จุติ ปฏิสนธิ
ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. ในอากาสานัญจายตนฌาน มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. ในสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่ง มีเวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. อากาสานัญจายตนฌานเป็นภพที่มีขันธ์ 4 ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุ่งแต่งเป็นภพที่มีขันธ์ 4 ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :487 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [6. ฉัฏฐวรรค] 5. นิโรธสมาปัตติกถา (57)
[456] ปร. ท่านไม่ยอมรับว่า “อรูปฌาน 4 เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ใช่ไหม
สก. ใช่
ปร. อรูปฌาน 4 พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมไม่หวั่นไหว มิใช่หรือ
สก. ใช่
ปร. หากอรูปฌาน 4 พระผู้มีพระภาคตรัสว่าเป็นธรรมไม่หวั่นไหว ดังนั้น
ท่านจึงควรยอมรับว่า “อรูปฌาน 4 เป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง”
อารุปปกถา จบ

5. นิโรธสมาปัตติกถา (57)
ว่าด้วยนิโรธสมาบัติ
[457] สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง(เป็นอสังขตะ)ใช่ไหม
ปร.1 ใช่2
สก. นิโรธสมาบัติเป็นนิพพาน เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นที่พึ่ง เป็น
ที่หมาย เป็นที่มั่น เป็นอมตะใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. นิโรธสมาบัติเป็นสภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง นิพพานก็เป็นสภาวธรรม
ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. สภาวธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งมี 2 อย่างใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายอันธกะและนิกายอุตตราปถกะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 457/219)
2 เพราะมีความเห็นว่า เนื่องจากนิโรธสมาบัติเป็นสภาวะที่ดับแล้ว จึงเป็นอสังขตะ ซึ่งต่างกับความเห็นของ
สกวาทีที่เห็นว่า นิโรธสมาบัติเป็นทั้งสังขตะ และอสังขตะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 457/219)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :488 }